วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Asean


                            

1.ความรู้พื้นฐาน

-        ผู้ก่อตั้ง

      พิธีลงนามในปฏิญญาอาเซียน (ASEAN Declaration) หรือปฏิญญากรุงเทพฯ ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510
   ความเป็นมาของอาเซียน
อาเซียนหรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Assciation of Southeast Asian Nations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ(The Bangkok Declaration ) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510โดยมีสมาชิกผู้ก่อตั้ง 5 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก-เฉียงใต้ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ได้ลงนามใน     
            “ปฏิญญากรุงเทพฯ” (Bangkok Declaration) เพื่อจัดตั้งสมาคมความร่วมมือกันในการเพิ่มอัตราการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม การพัฒนาวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคง ในพื้นที่และเป็นการเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติของระดับภูมิภาคของประเทศต่างๆ ในเอเชีย ในเวลาต่อมาได้มี ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าเป็นสมาชิกตามลำดับดังนี้                                                                                                                      -บูรไนดารุสซาราม  (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 8 มกราคม  2527)                                                                                         
สาธารณรัฐสังคมคมนิยมเวียดนาม (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 28 กรกฎาคม 2538)                                                        -สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 23 กรกฎาคม 2540)                                                     -สหภาพพม่า (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 23 กรกฎาคม 2540)                                                                                               -ราชอาณาจักรกัมพูชา (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 30 เมษายน 2542) ตามลำดับ      ทำให้อาเซียนมีสมาชิกครบ 10ประเทศ



ประเทศสมาชิก  
ประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN Member States)






1.เนการาบรูไนดารุสซาลาม : Negara Brunei Darussalam
การปกครอง : สมบูรณาญาสิทธิราชย์
ประมุข : สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาเลาะห์
เมืองหลวง : บันดาร์เสรีเบกาวัน
ภาษาราชการ : ภาษามาเลย์, ภาษาอาหรับ
หน่วยเงินตรา : บรูไนดอลลาร์
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mofat.gov.bn




2. ราชอาณาจักรกัมพูชา : Kingom of Cambodia
การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตย
ประมุข : พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี
เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ
ภาษาราชการ : ภาษาเขมร
หน่วยเงินตรา : เรียล









3.สาธารณรัฐอินโดนีเซีย : Republic of Indonesia
การปกครอง : ระบอบสาธารณรัฐแบบประชาธิปไตย
ประมุข : พลโทซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน
เมืองหลวง : กรุงจาการ์ตา
ภาษาราชการ : ภาษาบาร์ฮาซา, ภาษาอินโดนีเซีย
หน่วยเงินตรา : รูเปียห์
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.kemlu.go.id

                      



4.สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : The Loa People's Democratic Republic
การปกครอง : ระบอบสังคมนิยม
ประมุข : พลโทจูมมะลี ไซยะสอน
เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทน์
ภาษาราชการ : ภาษาลาว
หน่วยเงินตรา : กีบ
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mofa.gov.la




5.มาเลเซีย : Malaysia
การปกครอง : สหพันธรัฐ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีเป็นประมุข
ประมุข : สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านตวนกู อับดุล ฮาลิม มูอัซซอม ซาร์
เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์
ภาษาราชการ : ภาษามาเลย์
หน่วยเงินตรา : ริงกิต
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.kln.gov.my





6.สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ : Republic of the Union of the Myanmar
การปกครอง : ระบบประธานาธิบดี
ประมุข : พลเอกเต็ง เส่ง
เมืองหลวง : นครเนปิดอร์
ภาษาราชการ : ภาษาพม่า
หน่วยเงินตรา : จั๊ต
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mofa.gov.mm






7.สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ : Republic of the Philippine
การปกครอง : สาธารณรัฐเดี่ยวระบบประธานาธิบดี
ประมุข : เบนิกโน อากีโน ที่ 3
เมืองหลวง : กรุงมะลิลา
ภาษาราชการ : ภาษาตากาล๊อก, ภาษาอังกฤษ
หน่วยเงินตรา : เปโซ
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.dfa.gov.ph





8.สาธารณรัฐสิงคโปร์ : Republic of Singapore
การปกครอง : ระบบสาธารณรัฐแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุข
ประมุข : โทนี ตัน เค็ง ยัม
เมืองหลวง : สิงคโปร์
ภาษาราชการ : ภาษาอังกฤษ, ภาษาจีนกลาง, ภาษามาเลย์, ภาษาทมิฬ
หน่วยเงินตรา : ดอลล่าร์สิงคโปร์
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mfa.gov.sg

9.ราชอาณาจักรไทย : Kingdom of Thailand
การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ประมุข : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร
ภาษาราชการ : ภาษาไทย
หน่วยเงินตรา : บาท
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mfa.go.th

10.สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม : Socialist Republic of Vietnam
การปกครอง : ระบอบสังคมนิยมเวียดนาม
ประมุข : เจือง เติ๋น ซาง
เมืองหลวง : กรุงฮานอย
ภาษาราชการ : ภาษาเวียดนาม
หน่วยเงินตรา : ด่อง
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mofa.gov.vn









 สัญลักษณ์
   สัญลักษณ์ของอาเซียน คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลม สีขาวและสีน้ำเงิน
รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ
สีเหลือง  หมายถึง  ความเจริญรุ่งเรือง 
สีแดง  หมายถึง  ความกล้าหาญและการมีพลวัติ
สีขาว  หมายถึง  ความบริสุทธิ์ 
สีน้ำเงิน  หมายถึง  สันติภาพและความมั่นคง

-กฏบัตรอาเซียน
         เป็นร่างสนธิสัญญาที่ทำร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเป็นเครื่องมือ ในการวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรของสมาคม ทั้งนี้เพกฎบัตรอาเซียน เป็นร่างสนธิสัญญา ที่ทำร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเป็นเครื่องมือในการวาง กรอบทาง กฎหมายและโครงสร้างองค์กรของสมาคม ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียน ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ภายในปี พ.ศ. 2558 ตามที่ผู้นำอาเซียน ได้ตกลงกันไว้ตามกำหนดการ จะมีการจัดทำร่างกฎบัตรอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพของอาเซียนในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัว เป็นประชาคมอาเซียน ภายในปี พ.ศ. 2558 ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ตามกำหนดการ จะมีการจัดทำร่าง กฎบัตรอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550

2. ประเทศสมาชิก (ที่สนใจ)

สาธารณรัฐอินโดนีเซีย : Republic of Indonesia
       เมืองหลวงคือ จาการ์ตา ถือเป็นประเทศหมู่เกาะขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีพื้นที่ 1,919,440 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากถึง 240 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) โดย 61% อาศัยอยู่บนเกาะชวา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษา Bahasa Indonesia เป็นภาษาราชการ
- การจัดตั้ง
             สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(Association of Southeast Asian Nations)
สมาคม ประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ อาเซียน ได้รับการจัดตั้งขึ้นในวันที่ 8 สิงหาคม 2510 ณ วังสราญรมย์ ในกระทรวงการต่างประเทศ กรุงเทพมหานคร โดยมีประเทศสมาชิกเริ่มแรก 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมา บรูไน ดารุสซาลามได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในวันที่ 8 มกราคม 2527 เวียดนามได้เข้าร่วมเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2538 ลาวและพม่าเข้าร่วมเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2540 และกัมพูชาเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542
ภูมิภาคอา เซียนนั้น ประกอบด้วยประชากรประมาณ 567 ล้านคน มีพื้นที่โดยรวม 4.5 ล้านตารางกิโลเมตร ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติประมาณ 1,100 พันล้านดอลลาร์ และรายได้โดยรวมจากการค้าประมาณ 1.4 ล้านล้านดอลลาร์ (สถิติในปี 2550)

วัตถุประสงค์

   ปฏิญญา อาเซียน (The ASEAN Declaration) ได้ระบุว่า เป้าหมายและจุดประสงค์ของอาเซียน คือ 1) เร่งรัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและการพัฒนาวัฒนธรรมในภูมิภาค และ 2) ส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค โดยการเคารพหลักความยุติธรรมและ  หลักนิติธรรมในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในภูมิภาค ตลอดจนยึดมั่นในหลักการแห่งกฎบัตรสหประชาชาติ

ใน โอกาสครบรอบ 30 ปีของการก่อตั้งอาเซียน ในปี 2540 (ค.ศ.1997)ผู้นำของประเทศสมาชิกอาเซียนได้รับรองวิสัยทัศน์อาเซียน 2020” (ASEAN Vision 2020) โดยเห็นพ้องกันในวิสัยทัศน์ร่วมของอาเซียนที่จะเป็นวงสมานฉันท์ในภูมิภาค ตะวันออกเฉียงใต้ ต้องการมีปฏิสัมพันธ์กับภายนอก การใช้ชีวิตในสภาพที่มีสันติภาพ เสถียรภาพ และความเจริญรุ่งเรือง ผูกมัดกันเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนา ที่มีพลวัตและในประชาคมที่มีความเอื้ออาทรระหว่างกัน

ปี 2546 ผู้นำอาเซียนได้เห็นพ้องกันที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียนที่ประกอบด้วย 3 เสาหลัก อันได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community–ASC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC) และประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community-ASCC) ภายในปี 2563 ต่อมา ในการประชุม สุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 12 ที่เมืองเซบู ฟิลิปปินส์ ผู้นำประเทศอาเซียนตกลงที่จะเร่งรัดกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียนให้แล้ว เสร็จภายในปี 2558











-เสาหลักประชาคมอาเซียน
          โดยเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2552 ผู้นำอาเซียนได้ลงนามรับรองปฏิญญาชะอำ หัวหิน ว่าด้วยแผนงานจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ค.ศ. 2009-2015) เพื่อจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 ซึ่งประชาคมอาเซียนประกอบด้วยเสาหลัก 3 เสา ดังต่อไปนี้
     

1.  ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน  (ASEAN Security Community – ASC)  มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้ง ระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง

2.  ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ๆ ได้เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน โดย

              - มุ่งให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของ สินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมภายในปี 2020

              - ทําให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base)

              - ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียนเพื่อลดช่องว่างการพัฒนาและช่วยให้ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน

              - ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาคตลาดการเงินและตลาดทุน การปะกันภัยและภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้างพิ้นฐานและการคมนาคม พัฒนาความร่วมมือด้านกฎหมาย การเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือแรงงาน
   
          กลุ่มสินค้าและบริการนำร่องที่สำคัญ ที่จะเกิดการรวมกลุ่มกัน คือ สินค้าเกษตร / สินค้าประมง / ผลิตภัณฑ์ไม้ / ผลิตภัณฑ์ยาง / สิ่งทอ / ยานยนต์ /อิเล็กทรอนิกส์ / เทคโนโลยีสารสนเทศ (e-ASEAN) / การบริการด้านสุขภาพ, ท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน) กำหนดให้ปี พ.ศ. 2558 เป็นปีที่เริ่มรวมตัวกันอย่างเป็นทางการ โดยผ่อนปรนให้กับประเทศ ลาว กัมพูชา พม่า และเวียดนาม สำหรับประเทศไทยได้รับมอบหมายให้ทำ Roadmap ทางด้านท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน)
 


 3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC) เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม

          สำหรับการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนนั้น ประเทศไทยในฐานะที่เป็นผู้นำในการก่อตั้งสมาคมอาเซียน มีศักยภาพในการเป็นแกนนำในการสร้างประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็ง จึงได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาอาเซียน โดยจะมุ่งเน้นเรื่องการศึกษา ซึ่งจัดอยู่ในประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ที่จะมีบทบาทสำคัญที่จะส่งเสริมให้ประชาคมด้านอื่น ๆ ให้มีความเข้มแข็ง เนื่องจากการศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน และจะมีการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านอาเซียนศึกษา เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนด้วยการศึกษา ด้วยการสร้างความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียน ความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์ หลักสิทธิมนุษยชน ตลอดจนการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศเพื่อพัฒนาการติดต่อสื่อสารระหว่างกันในประชาคมอาเซียน





-บทบาทสังคมไทยในการจัดตั้งอาเซียน
    ประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 5 ของสมาชิกผู้ก่อตั้งและเป็นจุดกำเนิดของอาเซียน ไทยมีบทบาทอย่างแข็งขันในกิจกรรมของอาเซียนตลอดมา รวมทั้งยังมีส่วนผลักดันให้อาเซียนมีโครงการความร่วมมือในด้านต่างๆ ที่ทันการณ์และสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ระหว่างประเทศ อาทิ การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน การประชุมอาเซียนว่าด้วยความ ร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในขณะเดียวกันอาเซียนก็มีความสำคัญต่อประเทศไทยโดยนอกจากจะสร้างพันธมิตรและความเป็นปึกแผ่น ตลอดจนเสถียรภาพและสันติภาพในภูมิภาคแล้ว ยังช่วยเพิ่มอำนาจต่อรองในการเจรจาระหว่างประเทศ และร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาข้ามชาติ และการพัฒนาขั้นพื้นฐานต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนั้น ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมภายในอาเซียนได้เปิดโอกาสให้มีการขยายตัวด้านการค้าและการลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งนำผลดีมาสู่เศรษฐกิจของประเทศไทยและของประเทศสมาชิกอาเซียนโดยส่วนรวม




 
ความสัมพันธ์กับประเทศไทย
1.      ประเทศไทยได้รับสิทธิพิเศษทางด้านการค้า ด้วยการได้ลดหย่อนอัตราภาษีศุลกากร
2.      ด้านอุตสาหกรรม ไทยได้รับสิทธิในการผลิตเกลือหิน และโซดาแอช ตัวถังรถยนต์
3.      ด้านการธนาคาร จัดตั้งบรรษัทการเงินของอาเซียน จัดตั้งคณะกรรมาธิการว่าด้วยการประกันภัยแห่งอาเซียน
4.      ด้านการเกษตร การสำรองอาหารเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โครงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โครงการปลูกป่า
5.      ด้านการเมือง สมาชิกของอาเซียนช่วยแบ่งเบาภาระของประเทศไทยเกี่ยวกับปัญหาผู้อพยพ
6.      ด้านวัฒนธรรม มีโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศสมาชิก ทำให้แต่ละประเทศมีความเข้าใจดีต่อกัน
ประเทศไทยมีบทบาทเชิงรุกทั้งในแง่การก่อตั้งและการพัฒนาให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีความสำเร็จ เพื่อให้เป็นกลไกขับเคลื่อนที่สำคัญของภูมิภาคนี้ ในส่วนของการก่อตั้ง ไทยเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งอาเซียนในปี พ.ศ. 2510 ในส่วนของการพัฒนา ไทยยังมีบทบาทที่สำคัญ ดังนี้
  • มีส่วนร่วมในกระบวนการสันติภาพในกัมพูชา
  • การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area) ในปี พ.ศ. 2535
  • ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก หรือ ARF- ASEAN Regional Forum ซึ่งเป็นเวทีที่ใช้พูดคุยปัญหาความมั่นคงในภูมิภาค ในปี พ.ศ. 2537
  • ความริเริ่มเชียงใหม่และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อบรรเทาผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในปี พ.ศ. 2540
การก่อตั้งในช่วงนั้นเกิดขึ้นท่ามกลางความคุกกรุ่นของสงครามเย็นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างประเทศมหาอำนาจในโลกเสรีประชาธิปไตยและคอมมิวนิสต์ ท่ามกลางความหวาดวิตกของประเทศในโลกเสรีประชาธิปไตยอย่างสหรัฐอเมริกาที่หวั่นเกรงถึงการแพร่ขยายของแนวคิดคอมมิวนิสต์ของรัสเซียและจีนที่จะครอบคลุมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามทฤษฎีโดมิโน
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาอาเซียนได้มีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาสำคัญในภูมิภาคนี้ เช่น กรณีเวียดนามรุกรานกัมพูชาเมื่อเดือนธันวาคม 1978 (พ.ศ.2521) โดยอาเซียนได้ปฏิเสธความชอบธรรมของรัฐบาลในพนมเปญที่ตั้งคณะรัฐบาลด้วยการยึดครองของกองทัพเวียดนาม พร้อมกับเรียกร้องให้เวียดนามถอนทหารออกจากกัมพูชาในเดือนกันยายน 1989 (พ.ศ.2532) หรือการก่อตั้งการประชุมอาเซียนว่าด้วยการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือเออาร์เอฟ ภายหลังความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในกัมพูชาในปี 1993 (พ.ศ.2536) เพื่อให้เป็นเวทีที่ขยายกว้างขึ้นในการหารือประเด็นเรื่องความมั่นคง
ส่วนในประเด็นเศรษฐกิจ อาเซียนได้มีการบรรลุข้อตกลงในการก่อตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (อาฟต้า) จากการประชุมสุดยอดที่สิงคโปร์ในปีเดียวกัน และหลังจากนั้นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ก็ได้กำหนดวิสัยทัศน์อาเซียน 2020 ที่จะให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้ โดยมุ่งให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของสินค้า การบริการ การลงทุน เงินทุน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมภายในปี 2020 (พ.ศ.2563) พร้อมมุ่งที่จะจัดตั้งให้อาเซียนเป็นตลาดเดียวและเป็นฐานการผลิต โดยจะริเริ่มกลไกและมาตรการใหม่ๆ ในการปฏิบัติตามข้อริเริ่มทางเศรษฐกิจที่มีอยู่แล้ว และให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน อันได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม หรือ CLMV เพื่อลดช่องว่างของระดับการพัฒนา และช่วยให้ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมในกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาค ตลาดการเงิน และตลาดเงินทุน การประกันภัยและภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคม กรอบความร่วมมือด้านกฎหมาย การพัฒนาความร่วมมือด้านการเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยการยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือ
การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 4 ปี 2535 (ค.ศ. 1992) ได้เป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน
  • มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area – AFTA) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในฐานะที่เป็นฐานการผลิตที่สำคัญเพื่อป้อนสินค้าสู่ตลาดโลก
  • โดยอาศัยการเปิดเสรีด้านการค้าและการลดภาษีและอุปสรรคข้อกีดขวางทางการค้าที่มิใช่ภาษี รวมทั้งการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาษีศุลกากรเพื่อเอื้ออำนวยต่อการค้าเสรี
    ตั้งแต่ปี 2540 (ค.ศ. 1997) อาเซียนได้เสริมสร้างความแข็งแกร่งของความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเงิน โดยได้มีการแถลง ASEAN Vision 2020 ซึ่งต่อมาได้กำหนดให้มีการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) ภายในปี 2563 (ค.ศ. 2020) รวมทั้งได้ริเริ่มการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน (ASEAN Finance Ministers’ Meeting – AFMM)1/ และความร่วมมือกับประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี
จากความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ในช่วงการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 13 ปี 2550 (ค.ศ. 2007) ณ ประเทศสิงคโปร์ ผู้นำอาเซียนได้เห็นชอบที่จะให้เร่งการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจากปี 2563 (ค.ศ. 2020) เป็นปี 2558 (ค.ศ. 2015) โดยได้ร่วมลงนามในแผนการดำเนินงานไปสู่การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Blueprint – AEC Blueprint)
ในช่วงการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 13 ที่สิงคโปร์ ผู้นำอาเซียนยังได้ให้การรับรองกฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดตั้งกรอบทางสถาบันและกฎหมายสำหรับอาเซียนในการเป็นองค์กรระหว่างประเทศชั้นนำในภูมิภาค โดยกฎบัตรอาเซียนจะมีผลบังคับใช้หลังประเทศสมาชิกทุกประเทศให้สัตยาบัน









4.ความสัมพันธ์ภายนอกอาเซียน

-อาเซียน +3

    กรอบความร่วมมืออาเซียน+3 (ASEAN+3) เป็นกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับประเทศนอกกลุ่ม 3 ประเทศ คือ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคเอเชียตะวันออก และเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งชุมชนเอเชียตะวันออก (East Asian Community) โดยให้อาเซียนและกระบวนการต่างๆ ภายใต้กรอบความร่วมมืออาเซียน+3 เป็นกลไกสำคัญในการผลักดันให้บรรลุเป้าหมาย เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปีของการจัดตั้งกรอบความร่วมมืออาเซียนบวกสามเมื่อปี 2007 (พ.ศ.2550)

ผู้นำของประเทศสมาชิกได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความร่วมมือเอเชียตะวันออกฉบับที่ 2 (Second Joint Statement on East Asia Cooperation: Building on the Foundations of ASEAN Plus Three Cooperation) พร้อมกับเห็นชอบให้มีการจัดทำแผนดำเนินงานเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน (ASEAN+3 Cooperation Work Plan (2007 – 2017)) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในระยะยาว และผลักดันให้เกิดชุมชนอาเซียน (ASEAN Community) ภายในปี 2015 (พ.ศ.2558) โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมความร่วมมือใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการเมืองและความมั่นคง ด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเงิน ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศโลก และการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้านสังคม วัฒนธรรม และการพัฒนา และด้านการส่งเสริมกรอบการดำเนินงานในด้านต่างๆและกลไกต่างๆ ในการติดตามผล โดยแผนความร่วมมือดังกล่าวทั้ง 5 ด้านนี้ ถือเป็นการประสานความร่วมมือและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียนกับประเทศในเอเชียตะวันออกมากยิ่งขึ้น

อาเซียน +3 ประกอบด้วยสมาชิก 13 ชาติ คือ 10 ชาติสมาชิกอาเซียน รวมกับจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ซึ่งมีประชากรรวมทั้งสิ้นกว่า 2,000 ล้านคน หรือหนึ่งในสามของประชากรโลก แต่เมื่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เข้าด้วยกัน จะทำให้มีมูลค่าถึง 9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณร้อยละ 16 ของจีดีพีโลก ขณะที่ยอดเงินสำรองต่างประเทศรวมกันจะสูงถึง 3.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐซึ่งมากกว่ากึ่งหนึ่งของเงินสำรองต่างประเทศของโลก โดยตัวเลขทางเศรษฐกิจเหล่านี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าอาเซียน+3 จะมีบทบาทเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่จะพัฒนาเศรษฐกิจให้มีความก้าวหน้าต่อไปในอนาคต
จากความร่วมมือดังกล่าวประเทศสมาชิกอาเซียน จะได้รับผลประโยชน์จากความร่วมมือในกรอบของเขตการค้าเสรีอาเซียนบวก+3 (FTA Asian +3) มูลค่าประมาณ 62,186 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และประเทศไทยในฐานะสมาชิกอาเซียนจะได้รับประโยชน์มากที่สุด คิดเป็นมูลค่าประมาณ 7,943 ล้านดอลลาร์ ขณะที่อินโดนีเซียมีแนวโน้มจะได้ประโยชน์ใกล้เคียงกัน คือประมาณ 7,884 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนเวียดนามคาดว่าจะได้รับประโยชน์มูลค่าประมาณ 5,293 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สำหรับการประชุมรัฐมนตรีคลังอาเซียน + 3 สมัยพิเศษ (Special ASEAN+3 Financial Ministers Meeting) ที่ จังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2552 ที่ผ่านมา ได้มีการสนับสนุนการใช้เวทีหารือด้านนโยบายและกิจกรรมความร่วมมือต่างๆ ของภูมิภาคอาเซียน อาทิ ข้อริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative: CMI) พร้อมทั้งเรียกร้องให้รัฐมนตรีคลังสนับสนุนให้มีกระบวนการเฝ้าระวัง โดยร่วมมือกับสถาบันการเงินในภูมิภาคและสถาบันการเงินระหว่างประเทศ รวมทั้งข้อริเริ่มเชียงใหม่ ที่รัฐมนตรีคลังอาเซียน+3 จำเป็นจะต้องเร่งรัดกระบวนการไป สู่ระดับพหุภาคี เพื่อเป็นกันชนรองรับเศรษฐกิจอ่อนแอในอนาคต
     ทั้งนี้ที่ประชุมมีข้อสรุปว่า จะขยายผลความตกลงริเริ่มเชียงใหม่ในการจัดตั้งกองทุนสำรองระหว่างประเทศร่วมกันในภูมิภาคอาเซียน (Currency Swap) จากเดิม 80,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็น 120,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 4.2 ล้านล้านบาท เบื้องต้นคาดว่า 3 ประเทศนอกกลุ่มอาเซียน คือจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น จะลงเงินสำรองร้อยละ 80 ของวงเงิน รวม หรือ 9.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และกลุ่มประเทศอาเซียนอีกร้อยละ 20 หรือ 2.4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งกองทุนดังกล่าวจะมีรูปแบบคล้ายกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund :IMF) แต่ก็ไม่ใช่คู่แข่งของ IMF แต่จะเป็นเพียงทางเลือกหนึ่งของเอเชียที่จะมีกองทุนระหว่างประเทศเป็นของตนเอง โดยประเทศจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ลงเงินรวมกันประมาณร้อยละ 80 ส่วนอีกร้อยละ 20 ที่เหลือกลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ จะลงทุนร่วมกัน ขณะที่ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย จะต้องใส่เงินลงทุนมากกว่าอีก 5 ประเทศ คือ บรูไน พม่า ลาว เวียดนาม และกัมพูชา เนื่องจากมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่กว่า โดยคาดว่าจะสามารถเสนอเรื่องเข้าสู่การพิจารณารัฐมนตรีคลังอาเซียน+3 วาระปกติที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ในเดือนพฤษภาคม 2552

-อาเซียน+6 asean+6
     ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 ซึ่งเริ่มขึ้นตั้งแต่ 19 พฤศจิกายน ส่วนวิจัยของธนาคารพัฒนาเอเชีย หรือ Asian Development Bank Institute : ADBI ได้เผยแพร่ผลการศึกษาเรื่อง ASEAN+3 or ASEAN+6 : Which Way Forward ? หรือ อาเซียน+3 หรือ อาเซียน+6 : ควรจะมุ่งไปสู่ทางเลือกใด โดยสาระสำคัญข้างในเป็นการวิเคราะห์ ผลของการจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งประกอบด้วย ข้อตกลงเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) อาเซียน-จีน (ASEAN+ PRC FTA) เอฟทีเอระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่น (ASEAN+Japan FTA) เอฟทีเอระหว่างอาเซียน-เกาหลีใต้ (ASEAN+Korea FTA) รวมถึงเอฟทีเอระหว่างอาเซียน+3 (ASEAN+3 FTA) และเอฟทีเอระหว่างอาเซียน+6 (ASEAN+6 FTA)
การศึกษาฉบับนี้ให้ข้อสรุปว่า หากการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีมี ขนาดใหญ่ครอบคลุมกว้างมากยิ่งขึ้นยิ่งจะเป็นผลดีต่อเอเชีย โดยอ้างอิงตัวเลขประเมินผลต่อรายได้จากการทำข้อตกลงใน 5 รูปแบบข้างต้น พบว่าข้อตกลงเอฟทีเอระหว่างอาเซียน+6 ซึ่งประกอบด้วยอาเซียน 10 ประเทศ และประเทศพันธมิตร 6 ราย ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน อินเดีย ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และเกาหลีใต้ จะให้ผลประโยชน์มากกว่าข้อตกลง เอฟทีเออีก 4 ข้อตกลงที่เหลือ
"หากข้อตกลงระหว่าง 16 ประเทศเกิดขึ้นจริงภายในปี 2560 จะเอื้อประโยชน์แก่ประเทศสมาชิกในข้อตกลงเป็นมูลค่ารวมกัน 2.85 แสนล้านดอลลาร์ มากกว่าตัวเลขประเมินผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการ ทำข้อตกลงเอฟทีเอในกลุ่มอาเซียน+3 ที่ครอบคลุม 13 ประเทศสมาชิก คาดว่าจะมีมูลค่าสูงประมาณ 2.28 แสนล้านดอลลาร์" เอดีบีระบุในรายงาน
แยกผลประโยชน์รายประเทศโดยเปรียบเทียบระหว่างการทำเอฟทีเอระหว่างอาเซียน+6 และการทำเอฟทีเอระหว่างอาเซียน+3 พบว่าเฉพาะประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศไทยจะได้รับมากที่สุด คิดเป็นมูลค่า 28,346 ล้านดอลลาร์ และ 26,728 ล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นสัดส่วน 12.84% และ 12.10% ตามลำดับ รองลงมาคือ มาเลเซีย ซึ่งมีแนวโน้มจะได้ประโยชน์จากการเข้าร่วม ข้อตกลงอาเซียน+6 ประมาณ 11,869 ล้านดอลลาร์ และจาก ข้อตกลงเอฟทีเอ 10,391 ล้านดอลลาร์
โดยมีสิงคโปร์และอินโดนีเซียได้รับประโยชน์รองลงไปในอันดับ 3 และ 4 โดยสิงคโปร์มีแนวโน้มจะได้ประโยชน์ ในการเข้าร่วมข้อตกลงอาเซียน+6 คิดเป็นมูลค่า 9,002 ล้านดอลลาร์ และจากเอฟทีเอของอาเซียนบวก+3 คิดเป็นมูลค่า 7,943 ล้านดอลลาร์ ขณะที่อินโดนีเซียมีแนวโน้มจะได้ประโยชน์ใกล้เคียงกัน คือ 8,588 ล้านดอลลาร์ และ 7,884 ล้านดอลลาร์ตามลำดับ สำหรับเวียดนาม คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากข้อตกลงทั้ง สอง รูปแบบ คิดเป็นมูลค่า 5,490 ล้านดอลลาร์ และ 5,293 ล้านดอลลาร์ตามลำดับ ฟิลิปปินส์คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมข้อตกลง 3,431 ล้านดอลลาร์ และ 3,177 ล้านดอลลาร์ตามลำดับ
ส่วนกัมพูชาคาดว่าจะได้รับประโยชน์เป็นมูลค่า 109 ล้านดอลลาร์ และ 107 ล้านดอลลาร์ตามลำดับ ในขณะที่ประเทศอาเซียนที่เหลือ ได้แก่ ลาว พม่า และบรูไน งานวิจัยได้จัดไว้ในหมวด "อื่นๆ" คาดว่าจะรับประโยชน์น้อยสุดจากข้อตกลงทั้งสองรูปแบบ จัดไว้ในหมวดอื่น คิดเป็นมูลค่ารวมกัน 370 ล้านดอลลาร์ ในกรณีของเอฟทีเอ อาเซียน+6 และ 661 ล้านดอลลาร์ ในกรณีของอาเซียน+3
โดยภาพรวมอาเซียนจะได้ประโยชน์ข้อตกลงขนาดใหญ่ระหว่างเอฟทีเอ อาเซียน+6 และอาเซียน+3 คิดเป็นมูลค่า 67,206 ล้านดอลลาร์ และ 62,186 ล้านดอลลาร์ตามลำดับ
น่าสนใจว่าในแง่ประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่เข้าร่วมข้อตกลงเอฟทีเอ อาเซียน+6 และเอฟทีเอ อาเซียน+3 นั้น เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มเอเชียตะวันออก 3 ชาติ ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และจีน พบว่าญี่ปุ่นยังคงเป็นประเทศที่มีแนวโน้มจะได้รับประโยชน์สูงสุดจากข้อตกลงทั้งสองรูปแบบ คิดเป็นมูลค่าราว 77,137 ล้านดอลลาร์ และ 74,825 ล้านดอลลาร์ตามลำดับ รองลงมาคือเกาหลีใต้ ซึ่งคาดว่าจะได้ประโยชน์ 51,351 ล้านดอลลาร์ และ 49,393 ล้านดอลลาร์ตามลำดับ ขณะที่จีนคาดว่าจะได้รับประโยชน์เป็นอันดับ 3 ของกลุ่ม คิดเป็นมูลค่า 43,598 ล้านดอลลาร์ และ 41,502 ล้านดอลลาร์ตามลำดับ
ส่วนอินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ได้รับผลประโยชน์จากข้อตกลงเขตการค้าเสรีทั้ง 2 รูปแบบแตกต่างกันไป โดยอินเดียมีแนวโน้มจะได้รับประโยชน์ในข้อตกลงเอฟทีเอของอาเซียน+6 เป็นมูลค่า 19,270 ล้านดอลลาร์ แต่คาดว่าอาจสูญเสียผลประโยชน์ หรือโอกาสทางการค้าจากข้อตกลงเอฟทีเอของอาเซียน+3 เป็นมูลค่าประมาณ 2,371 ล้านดอลลาร์
ทำนองเดียวกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ซึ่งหากไม่ได้ร่วมในข้อตกลงอาเซียน+3 จะสูญเสียโอกาสทางการค้า คิดเป็นมูลค่า 2,376 ล้านดอลลาร์ และ 216 ล้านดอลลาร์ตามลำดับ แต่คาดว่าจะได้ประโยชน์หากข้อตกลง เอฟทีเออาเซียน+6 เป็นรูปธรรม ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์มีแนวโน้มจะได้ประโยชน์ คิดเป็นมูลค่า 22,546 ล้านดอลลาร์ และ 4,136 ล้านดอลลาร์ ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม การสร้างเขตการค้าเสรีขนาดใหญ่มหาศาล ไม่มีแนวโน้มจะก่อผลกระทบในเชิงสร้างความเสียหายให้แก่ภูมิภาค นอกกลุ่ม อาทิ สหรัฐ หรือสหภาพยุโรป (อียู) มากมายนัก โดยการศึกษาของเอดีบีได้วิเคราะห์ไปที่แคนาดา สหรัฐอเมริกา และเม็กซิโก ซึ่งอยู่ในกลุ่มเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ หรือนาฟต้า พบว่า แม้โดยภาพรวมข้อตกลง เอฟทีเอของอาเซียน+3 และอาเซียน+6 จะส่งผลกระทบต่อภาพรวม การค้าของอาฟต้า โดยคาดว่าจะทำให้เกิดการเสียโอกาสทางการค้า 4,474 ล้านดอลลาร์ จากกรณีการทำข้อตกลงเอฟทีเอ อาเซียน+6 และเสียโอกาสทางการค้าเป็นมูลค่า 235 ล้านดอลลาร์ ในกรณีของ เอฟทีเอ ในกลุ่มอาเซียน+3
กาเนช วิกนาราชา นักวิชาการหนึ่งในทีมวิจัยครั้งนี้ตั้งข้อสังเกตว่า หากพิจารณาจากสมมติฐานในการทำเอฟทีเอ ในกลุ่มอาเซียน+6 จะเอื้อให้เกิดผลประโยชน์จากการทำการค้าเสรีมากที่สุด แต่ในกรณีของการทำ ข้อตกลงเอฟทีเอ อาเซียน+3 นั้นจะเอื้อประโยชน์แบบพบกันครึ่งทาง ซึ่งจะนำไปสู่การรวมกลุ่มกันอย่างแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น
แต่กระนั้นเอบีดีได้ตั้งข้อสังเกตในตอนท้ายว่า ปัจจัยสำคัญในการทำข้อตกลงไม่ว่าจะเป็นเอฟทีเอ อาเซียน +6 หรืออาเซียน+3 ซึ่งอยู่ในระยะเริ่มต้นนั้น อยู่ที่จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้
จริงๆ แล้วดูเหมือนข้อสรุปของเอดีบีจะระบุชัดลงไปด้วยว่า เอฟทีเอของอาเซียน+6 นั้นให้ประโยชน์แก่ประเทศที่เข้าร่วม มากกว่าการทำข้อตกลง เอฟทีเอในรูปแบบอื่นๆ ทั้งระดับทวิภาคีและระดับภูมิภาค 102 ข้อตกลง ที่เกิดขึ้นในเอเชียตะวันออก ในปัจจุบัน
ในรายงานของเอดีบีได้สรุปการขยายตัวของการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีในเอเชียตะวันออก ระหว่างปี 2519-2550 พบว่า เอฟทีเอได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนับจากปี 2543 เป็นต้นมา โดยเพิ่มจาก 7 ข้อตกลงในช่วงเวลานั้น เป็น 67 ข้อตกลงในปี 2548 และเป็น 102 ข้อตกลงในปี 2550 แต่ผลดีโดยปริยายหากเกิดข้อตกลงเอฟทีเอ อาเซียน+6 คือ จะทำให้ข้อตกลงเอฟทีเอ ในระดับย่อยที่เกิดขึ้นในลักษณะของ "ชามบะหมี่" กล่าวคือซับซ้อน และเกี่ยวพันไขว้กันไปมาระหว่างสมาชิกภายในกลุ่ม จะรวมกันได้และกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน โดยมีอาเซียนเป็น "ศูนย์กลางโดยธรรมชาติ" ของเขตการค้าเสรีขนาดใหญ่ทั้งสองรูปแบบ
สุดท้ายเอบีดีย้ำว่า การรวมตัวของสมาชิกไม่ว่าจะเป็นข้อตกลงรูปแบบใด จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อแต่ละกลุ่ม สามารถทำให้เกิดการรวมตัวทางเศรษฐกิจอย่างลึกซึ้งเป็นอันดับแรกก่อน ซึ่งไม่ใช่เป้าหมายที่ไปถึงได้ง่ายดายนัก เนื่องจากต้องเผชิญอุปสรรคสำคัญเป็นจำนวนมาก





-อาเซียน+8
   อาเซียนเชิญสหรัฐฯ-รัสเซีย ร่วมแจมหวังขยายกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้า จากอาเซียน+6 เป็น +8 ส่งผลดีส่งออก เกษตร อุตสาหกรรม ไทย ตีตลาดเสรีทั่วโลก...
   เมื่อวันที่ 4 ส.ค. นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (เออีเอ็ม) และการประชุมคณะมนตรีเขตการค้าเสรีอาเซียน ที่ประเทศอินโดนีเซีย วันที่ 9-13 ส.ค.นี้ว่า อาเซียนได้เชิญตัวแทนจากสหรัฐฯ และรัสเซีย เข้ามาหารือในเวทีการของประเทศเอเชียตะวันออก เพื่อขยายกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจจาก 16 ประเทศ หรืออาเซียนบวก 6 (อาเซียน 10 ประเทศ รวมกับจีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์) เพิ่มเป็น 18 ประเทศ หรือเป็นอาเซียนบวก 8 ซึ่งจะทำให้กรอบการเปิดเสรีอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาขยายวงกว้างขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจการค้าของอาเซียนและไทย
     "จะพบกับผู้แทนการค้าของ สหรัฐฯ และรมว.พัฒนาการเศรษฐกิจรัสเซีย เพื่อแสวงหาแนวทางส่งเสริมและกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้าระหว่างกัน โดยสหรัฐฯ และรัสเซีย ถือเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ หากอาเซียนขยายความร่วมมือ จะเกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และสร้างโอกาสขยายการส่งออกแก่ไทยได้ ทั้งสินค้าเกษตร และอุตสาหกรรม" นายยรรยง กล่าว

นอกจากนี้ ในการประชุมยังจะมีการติดตามความคืบหน้าการดำเนินการเขตการค้าเสรีอาเซียน เช่น การลด/เลิกอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษี และการดำเนินมาตรการด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้า เป็นต้น.

5.นักเรียนคิดว่าในอนาคตอาเซียนจะเป็นอย่างไร
  คิดว่า...........เมื่อทุกคนที่อยู่ในอาเซียนล้วนแล้วแต่เป็นพลเมืองของอาเซียนด้วยกันทุกคน และทุกคนจะต้องไปมาหาสู่ เดินทางท่องเที่ยว ทำความรู้จักคุ้นเคยต่อกัน เรียนรู้ซึ่งกันและกัน และที่สำคัญทุกคนจะต้องเดินทางข้ามพรมแดนเพื่อหางานทำและแสวงหาโอกาสที่ดีกว่าให้กับชีวิต ดังนั้นภาษาอังกฤษจึงเป็นเครื่องมืออันดับหนึ่งสำหรับพลเมืองอาเซียน ในการสื่อสารสร้างสัมพันธ์สู่โลกกว้างของภูมิภาคอาเซียน โลกแห่งมิตรไมตรีที่ขยายกว้างไร้พรมแดน โลกแห่งการแข่งขันไร้ขอบเขตภูมิศาสตร์และ
วัฒนธรรม


1 ความคิดเห็น: